วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา"ยุคนี้ครูขาดแคลน"


สรุป จากการชมวีดีทัศน์
เรื่อง ยุคนี้ครูขาดแคลน
โดย รศ.ดร. มนตรี แย้มกสิกร



ครูเป็นอนาคตของเยาวชน ตอนนี้ประเทศไทยกำลังคลาดแคลนครูที่เป็นทรัพยากรของชาติ คนที่มาเรียนคณะศึกษาศาสตร์ /คุรุศาสตร์ ต้องตั้งใจเรียน เรียน 4 ฝึกสอน 1 ปีบางคนที่เข้ามาคณะนี้ เพราะ คะแนนในการสอบเข้ามาถึงได้พอดีจึงคิดว่าเรียนๆไปไม่เป็นไรเรียนได้เหมือนกัน ปัญหาในขณะนี้ที่คนไม่ค่อยมาเรียนในคณะนี้เพราะ เงินเดือนน้อย งานก็มีเยอะ และคนส่วนมากในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีใครอยากเป็นครูกัน
ปัญหาที่แท้จริงที่เกิดจากการขาดแคลนทรัพยากรครูในปัจจุบัน คือ
1.คุณภาพการศึกษา ได้แก่ คุณภาพการสอนและคุณภาพของครู
2.โอกาสแห่งการเรียนรู้ได้แก่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรครูจึงมีมากในปัจจุบันส่วนใหญ่คนที่เรียนจบทางด้านครูบางคนก็ไปทำงานทางด้านอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพทางด้านครูที่ได้เรียนมา
สมัยก่อนใครใครก็มาเป็นครูได้ แต่สมัยนี้ต้องมีใบประกอบอาชีพครู แต่ตอนนี้กำลังขาดแคลนครู ครูเกษียณก็ไม่มีแล้ว บางสาขาต้องปิดตัวลง เพราะไม่มีครูสอน
ตอนนี้สถาบันที่ผลิตครูต้องเร่งผลิตครู การแก้ไขปัญหาคือ
1. เพิ่มเงินเดือน
2. วางแผนผู้ใช้ผู้ผลิต
3. สนับสนุนและมีแรงจูงใจ โดยมีทุนการศึกษาให้และรับรองว่า เมื่อจบการศึกษาออกมาแล้ว จะได้มีงานทำอย่างแน่นอน
4. ทำเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนหนึ่งมาจัดสรรให้กับโรงเรียน
5. เปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครู
6. พัฒนาครูให้เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้มากขึ้น
การแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันรัฐบาลกำลังหาทางแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรครู


จากการที่กลุ่มของดิฉันได้ไปสัมภาษณ์อาจารย์ ในหัวข้อเรื่อง "ยุคนี้ครูขาดแคลน" อาจารย์แต่ละได้มีความคิดเห็น ดังนี้

อาจารย์ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม



“สำหรับตัวอาจารย์เองคิดว่าปัญหานี้ไม่ค่อยมีผลกระทบมากนักเพราะปัจจุบันคนเรียนครูเยอะ และคนที่ไม่ได้เรียนครูโดยตรงก็ยังมีโอกาสมาเรียนบัณฑิตศึกษาต่อไปในเวลา ๑ ปีครึ่ง เช่น ถ้าขาดแคลนครูสอนวิทยาศาสตร์ก็สามรถหาได้โดยให้คนที่เรียนวิทยาศาสตร์มาโดยไม่จำเป็นต้องเป็นสายอาชีพครูมาเรียนต่อภายใน ๑ ปีครึ่งก็จะได้วุฒิการเป็นครู ในประเทศไทย ณ เวลานี้ สายอาชีพครูเป็นสายที่คนส่วยใหญ่สนใจที่จะเรียนเพราะเป็นสายอาชีพโดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ อาชีพครูเป็นอาชีพที่สูงเทียบเท่ากับแพทย์ เมื่อก่อน ครูในเมืองไทยไม่ค่อยมีความรู้ในวิชาที่ตนสอน หรือสอนไม่ตรงกับวิชาที่ได้เรียนมา ทำให้นักเรียนไม่ได้รับความรู้เท่าที่ควร สอนแต่แบบเดิมๆ คิดว่าอีก ๑๐ ปีข้างหน้าอาชีพครูจะเป็นอาชีพที่มั่นคงและให้ความรู้แก่เด็กได้ดีและเต็มที่ เพราะคนที่เรียนครูในสายวิชานั้นๆ ได้สอนวิชานั้นโดยตรงไม่มั่วกับวิชาอื่นที่ไม่ได้เรียนมา”

อาจารย์ไพรัตน์ วงษ์นาม


“ครูไม่ได้ขาดแคลน แต่ครูขาดองค์ความรู้ที่จะไปสอนเด็ก ในปัจจุบันมีนิสิต นักศึกษาสนใจเรียนครูเยอะ แต่เด็กที่เก่งมักจะไม่ไปเป็นครู ทำให้ปัจจุบันขาดแคลนผู้ชำนาญการ คนเก่งที่มาเป็นครู ครูในปัจจุบันมีอยู่แล้วแต่ไม่ค่อยใส่ใจนักเรียนเป็นพิเศษ ขาดความรู้และความชำนาญในการสอน ครูเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นครูจำต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต”

เนื้อหาประกอบเรื่องการขาดแคลนครูจากอินเตอร์เน็ต

ขาดแคลนครูเหตุแตกหลักสูตรใหม่
จุฬาฯ ระบุ ร.ร.กรุงเทพฯ ขาดแคลนครู

ครุศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยสภาวะขาดแคลนครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบโรงเรียนขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขาดแคลนครูมากกว่าภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะคณิต วิทย์ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ ต้นเหตุมาจากปฏิรูปหลักสูตร ส่งผลให้แตกรายวิชาใหม่ๆ เตรียมเสนอเป็นวาระแห่งชาติกำหนดยุทธศาสตร์แก้ปัญหาขาดแคลนครู
รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ ศึกษาวิจัยเรื่อง “สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่าการขาดแคลนครูเป็นสภาวะวิกฤต ไม่เฉพาะในประเทศไทยแต่เกิดขึ้นกับทั่วโลก ยิ่งครูในสาขาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน ปัญหาการขาดแคลนครูทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพเกี่ยวโยงกับคุณภาพการเรียนการสอนด้วย
การวิจัยครั้งนี้ได้นำไปเปรียบเทียบประสบการณ์แก้ไขปัญหาอีก 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา มาเลเซีย
จากข้อมูลเอกสาร พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีข้าราชการครูในสายงานสอน 396,507 คน แต่มีความต้องการครูมากถึง 478,186 คน จึงจะสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพโครงการวิจัยดังกล่าวได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับครูตามสภาพที่เกิดขึ้นจริง โดยสำรวจครูในโรงเรียนของรัฐทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษา จำนวน 29,503 แห่ง ซึ่งหากใช้เกณฑ์โดยไม่แยกขนาดของโรงเรียนจะพบว่าโรงเรียนระดับประถมศึกษาขาดแคลนครูถึง 30,000 คน ในขณะที่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจะขาดแคลนครู 32,000 คน
ขณะเดียวกัน หากใช้เกณฑ์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) พบว่า การขาดแคลนครูในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจะลดลง อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมพบว่า ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประสบปัญหาขาดแคลนครูมากกว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากมีโรงเรียนขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก
ส่วนปัญหาการขาดแคลนครูมีอย่างน้อย 2 ลักษณะ คือ
การบรรจุครูใหม่ไม่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียนขาดแคลนครูใหม่ที่จะมาทดแทนที่เกษียณอายุ ลาออก หรือโอนย้ายจากผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนที่ขาดแคลนครูส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนที่อยู่ในชนบท สาขาวิชาที่ขาดแคลนครูมากที่สุด ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ
สำหรับสาเหตุของปัญหานั้นเกิดจากปัญหาเชิงนโยบายของรัฐและระดับท้องถิ่น การปฏิรูปหลักสูตรทำให้เกิดรายวิชาใหม่ ส่งผลให้ขาดแคลนครูผู้สอน ประกอบกับนโยบายการจำกัดกำลังคนภาครัฐ และคืนอัตราทดแทนผู้เกษียณอายุตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต ทำให้ครูลาออกไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงสาเหตุเนื่องจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการผลิตและการใช้ครู ปัญหาวิกฤตศรัทธาวิชาชีพครู และภาพลักษณ์ของอาชีพครูซึ่งมีค่าตอบแทนน้อย มีสวัสดิการไม่เพียงพอ ทำให้ครูขาดขวัญกำลังใจ
“จากการเปรียบเทียบ เราพบว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู มีการกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาขาดแคลนครูเป็นวาระแห่งชาติ โดยประกาศเป็นกฎหมาย นโยบาย รวมทั้งมีการกำหนดมาตรการด้านระบบการผลิตครู มาตรการด้านระบบการจ้างงาน มาตรการด้านระบบการรักษาครู และมาตรการด้านระบบการพัฒนาอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกัน”

http://210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=438


แนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู

ภายหลังจากการศึกษาปัญหาเรื่องสภาวะการขาดแคลครู รศ.ดร.ขนิตา รักษ์พลเมืองและคณะได้กล่าวถึงแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูโดยสรุป ดังนี้
1)โครงการคุรุทายาท กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการคุรุทายาทมาตั้งแต่ปี 2530 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูทั้งในระดับการศึกษาเฉพาะพื้นที่ และเฉพาะสาขาวิชา โดยเลือกคนเก่ง คนดี เข้าเรียนครู
2)โครงการพิเศษเพื่อบริหารจัดการการปฏิรูปการฝึกหัดครู พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา (สปค.) เช่นโครงการสำหรับครูประจำการ การผลิตครูใหม่ และโครงการสำหรับผู้ใช้ครู โดยจัดคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐและเอกชน ใน 4 สาขาวิชาหลักคือวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทยและอังกฤษ
3)นโยบายและมาตรการผลิตและพัฒนาครูไทยในศตวรรษที่ 21 ฯ โดยการสร้างความเชื่อมั่นในวิชาชีพครู ประกันคุณภาพครู และมาตรการสร้างความยั่งยืนในการปฏิรูปวิชาชีพครู
4)แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา (2547-2556) ของ ศธ. ครอบคลุมตั้งแต่การฟื้นฟูศรัทธาต่อวิชาชีพครู พัฒนาศักยภาพครู และการผลิตครูแนวใหม่
5.การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูของสพฐ. โดยการเรียกบรรจุครูจากบัญชีการสอบที่มีอยู่ บรรจุครูอัตราจ้างที่ทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป และบรรจุครูที่มีคุณวุฒิอื่นและให้เรียนวิชาทางการศึกษาเพิ่มเติม
สภาวะการขาดแคลนครูเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลต้องดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะครูคือผู้นำนโยบายการปฏิรูปการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ และยกระดับคุณภาพของเยาวชนสู่การเป็นทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย.กรุงเทพฯ พริกหวานกราฟฟิก
http://somjaiswu.multiply.com/journal/item/8/8


วันนี้ (22 พ.ย.) คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
กล่าวถึงภาวะการขาดแคลนบุคลากรครู ว่าในขณะนี้โรงเรียนต่างๆ ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ยังคงอยู่ในภาวะที่ขาดแคลนอัตราข้าราชการครูทั้งสิ้นกว่า 70,000 อัตรา โดยขาดแคลนครูที่ทำหน้าที่สอนหนังสือจำนวน 20,000 กว่าอัตรา และขาดแคลนครูธุรการอีก 43,000 อัตรา เนื่องมาจากอัตราข้าราชการครูจำนวนไม่เพียงพอที่จะรองรับตลาดแรงงาน แม้จะมีแรงงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก็ตาม แต่ไม่สามารถประกอบอาชีพครูได้ นอกจากนี้ ที่ผ่านมาบุคลากรครูยังได้เกษียณอายุไปพร้อมกันทั่วประเทศกว่า 75,000 อัตรา จึงส่งผลกระทบกับอัตราครูที่ทำการสอนหนังสือให้กับเด็กทั่วประเทศ
เลขาธิการ กพฐ.ยังยอมรับว่า ขณะนี้ยังคงมีบางวิชาเรียน ที่ยังคงขาดแคลนอัตราครูอยู่ เนื่องจากเป็นวิชาเรียนเฉพาะทาง จึงจำเป็นต้องหาครูที่มีความรู้โดยตรงมาเป็นผู้สอนเท่านั้น

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

22 มิถุนายน 2552
โรงเรียน ยังขาดแคลน ครู ที่มีความรู้เฉพาะ
สพฐ. ระบุ ร.ร.ยังขาดแคลนครูที่มีความรู้เฉพาะ เช่น วิชาเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ครูต้องจบสาขาเฉพาะ จึงจะมีคุณภาพ ย้ำผู้บริหาร ร.ร.ยังขาดความเข้าใจโครงการเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐ...
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) กล่าวในงานการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 2552 ระหว่างวันที่ 20-21 มิ.ย. 2552 ว่า สพฐ.มีนโยบายในการดำเนินงาน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การให้โอกาสทางการศึกษาของเด็กและเยาวชน โดยปัจจุบัน สพฐ.สามารถเกณฑ์เด็กให้เข้าเรียนได้ร้อยละ 98 นอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือเด็กในกลุ่มต่างๆของประเทศไทย เช่น เด็กที่ไม่อยู่ในทะเบียนราษฎร เด็กอพยพ ซึ่ง สพฐ.สามารถจัดการศึกษาให้ได้ประมาณร้อยละ 105 เหตุผลที่มีจำนวนมากเพราะเป็นกลุ่มที่มีอายุต่างจากเด็กไทย โดยมีเด็กอายุระหว่างต่ำกว่า 6 ขวบ และเกิน 12 ปี ทั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทยได้ อย่างไรก็ตามยังคงมีเด็กที่ตกหล่นไม่ได้รับการศึกษา และมีเด็กหลุดออกจากระบบโรงเรียน หรือเด็กออกก่อนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิ่งที่ต้องดำเนินการคือจัดการศึกษาให้เด็กเหล่านี้ให้มีโอกาสพื้นฐานและหลายโรงเรียน ได้ดำเนินการจนประสบความสำเร็จ เช่น โรงเรียนหนองชุมแสง จ.เพชรบุรี โรงเรียนสีดาวิทยา จ.นครราชสีมา โรงเรียนน้ำพองศึกษา จ.ขอนแก่น การจัดการศึกษานี้เรียกว่าการศึกษาตามเรื่อง คือ รับเด็กกลุ่มนี้มาเรียนใหม่ โดยไม่จำกัดช่วงเวลาเรียน โดยเวลาเรียนอาจแตกต่างจากเด็กปกติ การแต่งกาย เพื่อแก้ปัญหาเด็กออกนอกระบบ ที่ จ.เชียงราย มีโรงเรียนชาวบ้าน รับนักเรียนซึ่งเป็นชาวบ้านมาเรียน ก็เป็นการแก้ไขปัญหาโอกาสทางการศึกษา แม้ว่าจะประสบความสำเร็จบางส่วน แต่ก็ต้องแก้ไขต่อจากรัฐบาลปัจจุบัน โดยนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ จะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ได้บางส่วน ทำให้โรงเรียนหลายแห่งได้แจ้งให้ทราบว่า ผู้ปกครองมีความพอใจเข้ามาติดต่อที่โรงเรียนมากขึ้น 2. คุณภาพผู้เรียน เด็กที่เรียนร้อยละ 98 มีความแตกต่างระหว่างบุคคลกันอย่างมาก ซึ่งหลักจิตวิทยาที่ได้บอกว่าผู้เรียนล้วนมีความแตกต่าง หากเชื่อความแตกต่างระหว่างบุคคล จะรู้ว่าผู้เรียนแตกต่างกัน ซึ่งมีการวิจัยมากมายสนับสนุนแนวคิดนี้ แม้ว่าในอดีต จะพบว่าในชีวิตจริงเด็กที่เรียนต่อในระดับสูงเพราะเด็กมีความพร้อมมีทรัพยากรสนับสนุน พื้นฐานผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ เด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง ปานกลาง ต่ำ ก็มีความแตกต่าง เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ก็แตกต่าง ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อการเรียน ปัจจุบันพบว่าเด็กกลุ่มอ่อนยังคงเรียนอยู่และเมื่อได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำก็จะดึงค่าเฉลี่ยเด็กที่ได้คะแนนสูงซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 20 ให้ลงมาซึ่งเหล่านี้เป็นรูปแบบธรรมชาติของค่าสถิติ
“เด็กที่มีความสามารถทางการเรียนรู้มาเรียนโรงเรียนปกติก็อยากจะลาออก เบื่อ หลายคนต้องอยู่กับนักวิจัย บางคนได้เกรด 4 ลาออกมาอยู่โรงเรียนหนองชุมแสง เพราะเชื่อว่ามีการสอนแตกต่าง ปัจจุบันโรงเรียนสำหรับเด็กปัญญาเลิศที่มีความสามารถทางการเรียนรู้มีอยู่มากมายเช่น โรงเรียนจุฬาภรณ์ 12 แห่งในหลายพื้นที่ และโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และจะพัฒนาสู่โรงเรียนปกติอีก 95 แห่งและขยายต่อเนื่องอีก 100 โรงเรียน สำหรับเด็กทั่วไปรัฐก็ยังคงต้องดูแล และจะต้องช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส และการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ” รองเลขาธิการ สพฐ.กล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า 3. การขาดแคลนครู ปัจจุบันโรงเรียนมีครูที่ไม่ครบอัตรา และครูที่ไม่ตรงวุฒิปฏิบัติการสอน เช่น วิชาเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ครูผู้สอนต้องเป็นจบสาขาดังกล่าวโดยเฉพาะ จึงจะมีคุณภาพ หากเปรียบเทียบ คะแนนเด็กอยู่ที่ Percentile ที่ 50 โอกาสที่จะขยับไปที่ 85-87 น่าจะเป็นไปได้ ซึ่งหากได้ ครูที่ไม่ดี Percentile ที่ 50 อาจตกไปที่ระดับ 30-20 การให้การบ้านเด็ก และการตรวจการบ้าน หากครูเข้าใจ และให้คำแนะนำเด็กเพิ่มเติมบ่อย ๆ เด็กจะมีผลการเรียนที่ดีขึ้น หากครูตรวจ และเซ็นชื่อกำกับเฉย ๆ Percentile อาจอยู่ที่ 30 อย่างไรก็ตาม จากการเรียนการเสริมแรง หากเสริมแรงทางบวกผู้เรียนอยากให้ครูชม เด็กก็อยากได้รับคำชมบ้าง เช่นเดียวกับการทำงาน ก็อยากให้เจ้านายชม อยากได้กำลังใจที่ดี สำหรับเรื่องครูนี้คาดว่ามี 3 เรื่อง ที่ทำได้เพื่อให้ได้ครูดีมีคุณภาพ คือ เงินเดือนครู ทุนการศึกษา และ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนและการวัดประเมินผล
รองเลขาธิการ สพฐ. กล่าวถึงโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพว่า โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ หลาย ๆ โรงเรียนสามารถจัดการได้ดี แต่หลายโรงเรียนก็ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ในภาคใต้หนังสือเรียนยังได้ไม่ครบ เมื่อตรวจสอบพบว่าบกพร่องหลายประการ ซึ่งผู้บริหารทำได้ไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ หลายโรงเรียนไม่ดำเนินการตามที่ สพฐ. กำหนด เช่น ต้องให้เงิน แต่หลายโรงเรียนกลับแจกเป็นคูปอง ซึ่งอยากให้ผู้บริหารดูแนวทางว่าเมื่อ สพฐ.กำหนดขั้นตอนไว้อย่างไร ควรปฏิบัติตามนั้น เช่น การเลือกหนังสือเรียน ผู้สอนเลือก พิจารณาในงานวิชาการ และให้ภาคี 4 ฝ่ายช่วยดู แต่บางโรงเรียนกลับไม่ดำเนินการ ตามนั้น ทั้งนี้ การให้ภาคี 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยดูเพื่อต้องการให้มีผู้รับรู้ว่าโรงเรียนมีการดำเนินการอย่างไร
http://blog.eduzones.com/clip/26387

รายงานผลการศึกษาเรื่อง สภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และข้อเสนอแนวทางแก้ไข
มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 20 สิงหาคม 2008 17:12:06 น.

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายก รัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธาน ที่อนุมัติในหลักการแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะยาว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1. มาตรการระยะเร่งด่วน (ปี 2551 — 2554)

1.1 ขอคืนอัตราเกษียณร้อยละ 100 พร้อมวงเงินจากอัตราเกษียณให้แก่กระทรวงศึกษาธิการมากกว่าหน่วยงานอื่น ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไปจนถึงปี 2554 โดยแยกขอเป็นรายปี ดังนี้

- ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขออัตราเกษียณคืนร้อยละ 100 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 — 2554 จำนวนทั้งสิ้น 29,553 อัตรา แยกเป็นปี 2551 จำนวน 5,192 อัตรา ปี 2552 จำนวน 6,558 อัตรา ปี 2553 จำนวน 7,688 อัตรา และปี 2554 จำนวน 10,115 อัตรา - การอาชีวศึกษา ขออัตราเกษียณคืนร้อยละ 100 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 — 2554 จำนวนทั้งสิ้น 1,026 อัตรา แยกเป็น ปี 2551 จำนวน 175 อัตรา ปี 2552 จำนวน 234 อัตรา ปี 2553 จำนวน 288 อัตรา และปี 2554 จำนวน 329 อัตรา

1.2 สำหรับการขาดแคลนบุคลากรสายสนับสนุน ขอให้จัดสรรเพิ่มตามความจำเป็นและตามกำลังงบประมาณของประเทศ

1.3 ควรมีการพิจารณาปรับเกณฑ์การกำหนดอัตราครูใหม่ ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา โดยแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มครูผู้สอน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มสนับสนุนการสอน รวมทั้งได้นำภาระงานสอนของครูที่คำนวณเป็นชั่วโมงต่อสัปดาห์มากำหนดอัตรากำลัง ซึ่งกำหนดให้ครูปฏิบัติงานประมาณ 30 ชั่วโมง/สัปดาห์ (งานสอน 18 ชั่วโมง ปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานสอน 10 ชั่วโมง และงานอื่น ๆ 2 ชั่วโมง) นอกจากนี้ยังคิดกลุ่มการเรียนเป็นรายชั้นในระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากต้องใช้ครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขามากขึ้น

1.4 ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีความพร้อมให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษา และดำเนินการโอนสถานศึกษาไปให้ อปท. ที่ผ่านการประเมินความพร้อม

1.5 เร่งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนแก่สถานศึกษาเอกชน รวมทั้งออกประกาศกระทรวงเพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยครอบคลุมสถานศึกษาเอกชนด้วย

2. มาตรการระยะยาว

2.1 วางแผนการผลิตและพัฒนาครูอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับสภาพการใช้และความต้องการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่แท้จริง โดยพิจารณาจากแนวโน้มของประชากรวัยเรียนและความต้องการทางการศึกษาในอนาคต รวมทั้งจัดตั้งสถาบันเพื่อความเป็นเลิศในการผลิตและพัฒนาครู โดยอาจให้ชื่อว่า “สถาบันกัลยาณิวัฒนา” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

2.2 จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

2.3 ลงทุนสร้างคณาจารย์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการในการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งการทดแทนการเกษียณอายุราชการ

2.4 ทบทวนนโยบายการจำกัดกำลังคนภาครัฐ กรณีเกษียณอายุราชการของครู คณาจารย์

2.5 ให้มีการศึกษาหาแนวทางขยายเวลาเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี และคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา (ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์) จาก 65 ปี เป็น 70 ปี โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน

2.6 ส่งเสริมสนับสนุนสถานประกอบการ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันสังคมอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 12 ให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษามากขึ้น โดยรัฐมีมาตรการจูงใจ

2.7 เพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาของเอกชนให้มากขึ้น โดยกำหนดสัดส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน ปี 2554 เท่ากับ 70:30

2.8 กระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษามากขึ้น ทั้งด้านการบริหารงานบุคคล งบประมาณ วิชาการและบริหารงานทั่วไป ตามความพร้อม

2.9 นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น การเรียนโดยระบบ E — learning การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย และเร่งจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม ประสานการวิจัย การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเทคโนโลยี อันจะส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาได้เพิ่มมากขึ้น โดยให้กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ต่อไป --ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551
http://www.ryt9.com/s/cabt/417041/

ขาดแคลนครูปัญหาที่น่าหนักใจ ของคนทั้งประเทศ
จะกล่าวถึงระบบการศึกษา ของทุกประเทศ ทั่วโลกก็ต้องมี โรงเรียน มีนักเรียน มีบุคลากรภายในโรงเรียนแล้ว ที่ขาดไม่ได้เลย ภายในโรงเรียนนั้นก็คือ คุณครู ที่จะเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาท วิชาทั้งหมดให้กับนักเรียนผู้เรียน จะได้ความรู้ เมื่อคนในประเทศมีการศึกษาที่ดีแล้ว ประเทศนั้นๆ ก็จะพัฒนาไปตามความรู้ของ คนในประเทศนั่นเอง แต่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยของเรานั้น ถึงแม้ว่าในแต่ละปีจะมีนักศึกษาที่จบใหม่ ออกมาจนล้น ตลาดแรงงาน แต่ก็ยังประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ในวิชา หลัก ต่างๆ อยู่อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือแม้กระทั่ง วิชาภาษาไทย ที่ถือเป็นภาษาประจำชาติของเราเอง ก็ยังขาดแคลนบุคลากรที่จะมาสอนวิชานี้ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ที่ทำให้ นักศึกษาในปัจจุบันหันมาสนใจวิชาชีพครู ซึ่งเป็นวิชาชีพ ที่เคยเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ มาก ในสังคมมีคนให้ความเคารพนับถือ และได้รับการยอมรับ ในสังคมน้อยลง นั้น เมื่อครูผู้สอนมีจำนวนไม่พอ เท่าที่นักเรียนต้องการการเรียนการสอนก็ต้องมีข้อจำกัด ในเรื่องต่าง ๆ เมื่อ การเรียนการสอนทำได้อย่างไม่เต็มที่เท่าทีควรจะเป็น การศึกษา ของนักเรียนในประเทศก็จะด้อยลงตามไปด้วย และเมื่อ ความรู้ของคนในประเทศด้อยลง การพัฒนาประเทศก็จะถดถอยลงไปด้วยเพราะเมื่อความรู้ความสามารถของคนในประเทศถดถอยลงไปเรื่อยๆ แล้วใครล่ะที่จะเติบโตขึ้นมาเพื่อเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในประเทศได้ ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราจะร่วมมือกัน ผลักดัน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการศึกษาในประเทศ ไม่ใช่เฉพาะ วิชาชีพครู แต่หมายถึง ทุกๆสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอยู่ในกระบวนการศึกษา หรือจะต้องรอให้ประเทศ ถอยหลังไปจนเกินจะเยียวยาแล้ว จึงค่อยเริ่มหาวิธีแก้กัน ...???
ไปฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆเกี่ยวกับปัญหานี้กันดีกว่า
นทีธร ไขกัณหา (นิว) ม.6 โรงเรียนสระบุรีวิทยา น่าจะเป็น เพราะว่าบุคลากรไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ครูที่จบมาใหม่ไม่มีความรู้เท่าที่ควรครับ ส่วนผมอยากให้ครูที่สอน สนใจนักเรียนมากๆ สอนให้รู้เรื่อง สอนสนุกๆครับ ครูที่สอนหนังสือน่าจะมีความรู้มากๆเพราะถ้าครูไม่มีความรู้ ก็ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนได้ไม่มากครับ ธนาดล โรจนะ (แม็ก)ม.6 โรงเรียนสระบุรีวิทยา ขาดแคลนครูก็เพราะว่า รัฐบาลหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ให้ความสนใจในบุคลากร เช่นการให้เกินเดือนครูน้อยทำให้คนไม่ค่อยไม่อยากเป็นครูเพราะไม่พอค่าใช้จ่ายในครอบครัว หรือว่าการคัดเลือกครูไม่มีความเข้มงวดครูที่ได้มาจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพครับ ครูในดวงใจผมน่าจะเป็น ครูที่สอนแล้วสนุก สนใจนักเรียนทุกคน คอยอธิบายให้ความเข้าใจทุกคนครับ
ณัฐฏ์พัฒน์ จิรธรรมแสง (เกฟ) ม.6 โรงเรียนสระบุรีวิทยา อาจจะเป็นเพราะว่าครุที่สอนเก่งๆ สอนดีๆ ปลดเกษียรกันหมดแล้ว และครูที่เข้ามาใหม่ไม่สามารถทดแทนกันได้ ก็ควรจะแก้ไขเรื่องการรับสมัครให้เพิ่มขึ้น คัดครูที่เก่งๆ สอนแล้วนักเรียนจะได้เข้าใจ และต้องคัดเลือกครูที่เรียนตรงกับรายวิชาที่จะสอนไม่ใช่ มาสอนวิชาที่ไม่ถนัดครับ
ณัฐธิดา กิจโรณี (มุ้ยน้ำ) ม.6 โรงเรียนสระบุรีวิทยา การขาดแคลนครูก็ เพราะว่าไม่ค่อยมีคนที่สนใจที่จะมาเป็นครู คนที่มีความรู้มีทางเลือกที่จะเลือกทำงานอย่างอื่นๆมากขึ้น งานมีหลากหลายมากขึ้นค่ะ อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้เปิดรับครูที่มีความรู้ แล้วควรให้ค่าตอบแทนของอาชีพครูให้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้คนสนใจที่จะมาเป็นครูมากขึ้นค่ะ และก็อยากให้คัดเลือกครูที่มีความรู้กว้างขวางไม่ใช่แค่สอนแต่ในตำรา ค่ะ
ศาศวัต ศุภศิริ (นิว) น่าจะเป็นเพราะว่าเดี๋ยวนี้การรับครูมีน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นครูอัตราจ้าง การบรรจุเป็นครูยาก อยากให้ผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องรับสมัครให้ทั่วไป ครูที่เป็นอัตราจ้างถ้าสอนดีก็ควรจะบรรจุให้เป็นครู ก็จะเป็นวิธีที่ง่ายๆให้เด็กเป็นคนตัดสินว่าครูสอนรู้เรื่องไหม สอนดีไหม อย่างนี้ก็น่าจะดีนะครับ
http://www.uchallengeclub.com/triplesystems/modules.php?name=News&file=article&sid=299

เนื้อหาประกอบเรื่องการขาดแคลนครูจากหนังสือ

ข้อเสนอเกณฑ์กำหนดอัตรากำลังครูใหม่และสภาพการขาดแคลนครู

กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเป็นเจ้าภาพเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทาวแก้ไขปัญหากาขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ในคราวประชุมที่เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 และตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
การปรับเกณฑ์การกำหนดอัตราครูใหม่ โดยมีหลักการสรุปได้ดังนี้
1. การคำนวณอัตรากำลังครู : แยกคำนวณตามกลุ่มภารกิจซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สอน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้สนับสนุนการสอน
2. กลุ่มผู้สอน คิดอัตรากำลังจากชั่วโมงการปฏิบัติงานในหนึ่งสัปดาห์ โดยกำหนดภารกิจของครูผู้สอนโดยประมาณ คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติงานสอน สัปดาห์ละ 18 ชั่วโมง ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับงานสอน สัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง ปฏิบัติงานอื่นที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง การอาชีวศึกษา ปฏิบัติงานสอนตามตารางสอน ระดับ ปวช. สัปดาห์ละ 18 ชั่วโมงระดับที่สูงกว่า ปวช. 15 ชั่วโมง ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับงานสอน สัปดาห์ละ 10-13 ชั่วโมง ปฏิบัติงานอื่นที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
3. กลุ่มผู้บริหาร คิดอัตรากำลังจากภาระงานบริหารสถานศึกษา โดยเปรีบยเทียบจากจำนวนกลุ่มการเรียน
4. กลุ่มสนับสนุนการสอน คิดจากปริมาณงานสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาซึ่งแบ่งอัตรากำลังได้ 2 ประเภท คือ บุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 38 ค.( 2 ) และพนักงานราชการหรืออัตราจ้าง
5. การคิดกลุ่มการเรียน (ห้องเรียน) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาจากช่วงชั้นที่สถานศึกษาจัดการศึกษา สถานศึกษาที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 1-2 ให้คิดกลุ่มการเรียนเป็นช่วงชั้น สถานศึกษาที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3-4 ให้คิดกลุ่มการเรียนเป็นระดับชั้นเนื่องจากรูปแบบการศึกษามีการเน้นทักษะเฉพาะ การอาชีวศึกษาพิจารณาจากระดับการศึกษา เช่น ระดับ ปวช. ระดับ ปวส. เป็นต้น
สรุปความแตกต่างระหว่างเกณฑ์ ก.ค.ศ. และเกณฑ์ที่เสนอใหม่
1. เกณฑ์ ก.ค.ศ.
1. การกำหนดอัตราครูผู้สอนคิดจากสัดส่วนครูต่อนักเรียนและจำนวนนักเรียนต่อห้อง ไม่พิจารณาภาระงานสอนของครู
2. จำนวนผู้บริหารกำหนดจากจำนวนนักเรียน
3. การกำหนดอัตรากำลังกลุ่มสนับสนุนการสอนใช้เปรียบเทียบสัดส่วนจากอัตรากำลังสาย
การสอน
2. เกณฑ์ใหม่
1. การกำหนดอัตราครูผู้สอน คิดจากภาระงานสอนของครูที่คำนวณเป็นชั่วโมงต่อสัปดาห์และจำนวนนักเรียนต่อห้อง/กลุ่มการเรียนซึ่งมีการคิดกลุ่มการเรียนเป็นช่วงชั้นในระดับประถมศึกษา ส่วนมัธยมศึกษาคิดรายชั้น ตามหลักคิดที่ว่า การจัดการเรียนการสอนในช่วงชั้นที่ 1 – 2 (ระดับประถมศึกษา) ครูคนหนึ่งสามารถสอนหลายวิชาได้ แต่การจัดการเรียนการสอนในช่วงชั้นที่ 3 – 4 (มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย) ต้องใช้ครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขามากขึ้น อาทิเช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ
2 .จำนวนผู้บริหารกำหนดจากจำนวนกลุ่มการเรียน
3. อัตรากำลังกลุ่มสนับสนุนการสอนใช้ภาระงานในการคำนวณ
สรุปอัตราการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์ใหม่
เมื่อนำเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ปรับใหม่ มาทดลองคำนวณโดยเปรียบเทียบอัตราครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่กับอัตราครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ควรมีตามเกณฑ์ใหม่ สรุปการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เมื่อนำเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ปรับใหม่มาใช้คำนวณสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ พบว่า ต้องใช้อัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 539,939 อัตรา โดยเป็นตำแหน่งผู้บริหาร 44,730 อัตรา ครูผู้สอน 396,731 อัตราและบุคลากรสนับสนุนการสอน 98,478 อัตรา
เมื่อนำอัตรากำลังครูและผู้บริหารที่คำนวณได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ปรับใหม่มาเปรียบเทียบกับอัตรากำลังข้าราชการครูและผู้บริหารที่มีอยู่จริงตาม จ.18 ทั่วประเทศ พบว่า เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ปรับใหม่ ต้องใช้อัตรากำลังครู 396,731 อัตรา ผู้บริหาร 44,730 อัตราและบุคลากรสนับสนุนการสอน 98,478 อัตรา แต่ตาม จ.18 มีอัตรากำลังครู 372,647 อัตรา ผู้บริหาร 39,893 อัตรา และบุคลากรสนับสนุน (ลูกจ้างประจำ) 33,803 อัตรา
ในจำนวนนี้ เมื่อพิจารณาตามขนาดสถานศึกษาจะพบว่า สถานศึกษาขนาดเล็กมีจำนวนนักเรียนระหว่าง 60-120 คน มีอัตรากำลังครูและผู้บริหารเกินอยู่จำนวน 10,793 อัตรา ในขณะที่สถานศึกษาขนาดอื่นขาดแคลนกำลังและผู้บริหารระหว่าง 186 – 16,340 อัตรา
โดยสรุปจึงมีสภาวะการขาดแคลนอัตรากำลังทั้งในส่วนผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรสนับสนุนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ผู้บริหาร 4,837 อัตรา ครูผู้สอน 24,084 อัตราและบุคลากรสนับสนุน 64,675 อัตรา
การอาชีวศึกษา
เมื่อนำอัตรากำลังตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ปรับใหม่ มาเปรียบเทียบกับอัตรากำลังที่มีอยู่จริงตาม จ.18 ทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มผู้สอน ขาดอัตรากำลัง 11,813 อัตรา กลุ่มบุคลากรสนับสนุนการสอน ขาดอัตรากำลัง 4,817 อัตรา โดยภาพรวมขาดอัตรากำลังอยู่ 16,630 อัตรา
ในจำนวนที่ขาดแคลนดังกล่าว(จำนวน 16,630 อัตรา) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีความประสงค์จะขอเงินเพื่อจ้างผู้คุณวุฒิ จำนวน 7,045 อัตรา ที่เหลือขอคืนจากอัตราเกษียณและขอบรรจุข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่
สรุปข้อดีของเกณฑ์ที่ปรับใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา
1. มีการแบ่งประเภทอัตรากำลังรวมทั้งกำหนดบทบาทภารกิจของอัตรากำลังในแต่ละประเภทไว้อย่างชัดเจนกว่าเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ใช้ในปัจจุบัน
2. เป็นการจัดอัตรากำลังที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาอย่างแท้จริง มีการคำนวณอัตรากำลัง โดยใช้ชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐานมาเป็นฐานในการคำนวณ ทำให้อัตรากำลังที่ได้กับภารกิจที่ต้องรับผิดชอบมีความสอดคล้องเกี่ยวเนื่องกัน
3. ใช้อัตรากำลังครูผู้สอนในภาพรวมลดลงจากเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอัตรากำลังครูผู้สอนตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ปรับใหม่ คำนวณจากปริมาณงานเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับครูเท่านั้น ในขณะปริมาณงานสนับสนุนการสอนคำนวณ โดยการจัดอัตรากำลังเป็นประเภทอื่น
4. มีเนื้อหาของเกณฑ์ตลอดจนวิธีการคำนวณชัดเจน สามารถนำไปใช้ในการคำนวณกับสถานศึกษาได้ทันที
แนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2551 อนุมัติในหลักการแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะยาวตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
มาตรการระยะเร่งด่วน (ปี 2551 - 2554)
1. ขอคืนอัตราเกษียณ ร้อยละ 100 พร้องวงเงินจากอัตราเกษียณให้แก่กระทรวงศึกษาธิการมากกว่าหน่วยงานอื่น ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไปจนถึงปี 2554 โดยแยกขอเป็นรายปี ดังนี้
- ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขออัตราเกษียณคืนร้อยละ 100 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 – 2554 จำนวนทั้งสิ้น 29,553 อัตรา แยกเป็น ปี 2551 จำนวน 5,192 อัตรา ปี 2552 จำนวน 6,558 อัตรา ปี 2553 จำนวน 7 ,688 อัตรา และปี 2554 จำนวน 10,115 อัตรา
- การอาชีวศึกษา ขออัตราเกษียณคืน ร้อยละ 100 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 – 2554 จำนวนทั้งสิ้น 1,026 อัตรา แยกเป็น ปี 2551 จำนวน 175 อัตรา ปี 2552 จำนวน 234 อัตรา ปี 2553 จำนวน 288 อัตรา และปี 2554 จำนวน 329 อัตรา
2. สำหรับการขาดแคลนบุคลากรสายสนับสนุน ขอให้จัดสรรเพิ่มตามความจำเป็นและตามกำลังงบประมาณของประเทศ
3. ควรมีพิจารณาปรับเกณฑ์การกำหนดอัตราครูใหม่ ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษา โดยแยกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มครูผู้สอน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และสนับสนุนการสอน รวมทั้งได้นำภาระงานสอนของครูที่คำนวณเป็นชั่วโมงต่อสัปดาห์มากำหนดอัตรากำลัง ซึ่งกำหนดให้ครูปฏิบัติงานประมาณ 30 ชั่วโมง / สัปดาห์ (งานสอน 18 ชั่วโมง ปฏิบัติงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานสอน 10 ชั่วโมง และงานอื่นๆ 2 ชั่วโมง) นอกจากนี้ยังคิดกลุ่มการเรียนเป็นรายชั้นในระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากต้องใช้ครูที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะสาขามากขึ้น
4. ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษา และดำเนินการโอนสถานศึกษาไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินความพร้อม
5. เร่งแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนแก่สถานศึกษาเอกชน รวมทั้งออกประกาศกระทรวงเพื่อให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยครอบคลุมสถานศึกษาเอกชนด้วย
มาตรการระยะยาว
เพื่อให้การแก้ปัญหาการขาดแคลนครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน เห็นสมควรกำหนดมาตรการในระยะยาว ดังนี้
1. วางแผนการผลิตและพัฒนาครูอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับสภาพการใช้และความต้องการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาที่แท้จริง โดยพิจารณาจากแนวโน้มของประชากรวัยเรียนและความต้องการทางการศึกษาในอนาคต รวมทั้งจัดตั้งสถาบันเพื่อความเป็นเลิศในการผลิตและพัฒนาครู โดยอาจให้ชื่อว่า “สถาบันกัลยาณิวัฒนา” เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2. จัดทำแผนงาน / โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา โดยคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
3. ลงทุนสร้างคณาจารย์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการในการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งการทดแทนการเกษียณอายุราชการ
4. ทบทวนนโยบายการจำกัดกำลังคนภาครัฐ กรณีเกษียณอายุราชการของครู คณาจารย์
5. ให้มีการศึกษาหาแนวทางขยายเวลาเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 60 ปี เป็น 65 ปี และคณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา (ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์) จาก 65 ปี เป็น 70 ปี โดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน
6. ส่งเสริมสนับสนุนสถานประกอบการ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันสังคมอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 12 ให้เข้ามาร่วมจัดการศึกษามากขึ้น โดยรัฐมีมาตรการจูงใจ
7. เพิ่มสัดส่วนการจัดการศึกษาของเอกชนให้มากขึ้น โดยกำหนดสัดส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน ปี 2554 เท่ากับ 70 : 30
8. กระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา / สถานศึกษามากขึ้น ทั้งด้านการบริหารงานบุคคล งบประมาณวิชาการและบริหารงานทั่วไป ตามความพร้อม
9. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น เช่น การเรียนโดยระบบ E – learning การจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย และเร่งจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แลชะกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เสนอนโยบายแผนส่งเสริมประสานการวิจัย การพัฒนา การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเทคโนโลยี อันจะส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาได้เพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง
- รายงานผลการศึกษาวิจัยเรื่อง สภาวะการขาดแคลนครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และข้อเสนอแนวทางแก้ไข
- ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. รายงานการวิจัย สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหฟวานกราฟฟิค จำกัด, 2548.

1 ความคิดเห็น:

  1. ตั้งใจทำดีมาก กลุ่ม 5 ใช่หรือไม่ น่าจะใส่ชื่อสมาชิกด้วยนะ

    วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง

    ตอบลบ