วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา “ไทยคร๊าฟท์”

จากการระดมความคิดในกลุ่ม มีผลสรุปว่ากลุ่มของข้าพเจ้ามีความคิดเห็นตรงกันว่า



1. การที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย นิสิตคิดว่าเป็นเพราะความล่าช้าในการตัดสินใจของ กก.ผจก. หรือเพราะความไม่มีคุณภาพของพนักงาน
ก็เพราะว่า พนักงานฝ่ายขายย่อมเป็นตัวแปรสำคัญอย่างเป็นระบบ การที่พนักงานฝ่ายขายไม่สามารถติดต่อกับลูกค้าที่ส่งออเดอร์มาทาง E-mail ได้ เพราะพนักงานฝ่ายขายไม่มีประสิทธิภาพในการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี ทำให้หน้าที่ตกเป็นของ กก.ผจก. จึงเกิดการติดขัดตั้งแต่กระบวนการแรกและยิ่งงานรับเยอะมากเท่าไร แต่ผู้กระจายงานมีแต่ตัว กก.ผจก. คนเดียวก็จะทำให้งานล่าช้า ดังนั้น ควรที่จะให้พนักงานฝ่ายขายนั้นเข้ารับการอบรมและเข้ารับการฝึกสอนการพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษให้ได้ และการอบรมต้องอบรมพนักงานทุกๆฝ่ายด้วย เพื่อเพิ่มทักษะการทำงานของบุคลากรทุกๆคน การฝึกอบรมแม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่สูง แต่ถ้าจะคำนึงถึงผลที่จะได้รับในระยะยาวแล้ว การฝึกอบรมที่ได้มีการจัดการและบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นการลงทุนที่ถูกที่สุดและได้ผลคุ้นทุนที่สุด แต่สถานการณ์ต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมขึ้น คือ


1. พนักงานไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
2. เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
3. สิ้นเปลืองวัสดุมาก และของเสียหายมาก
4. เกิดปัญหาพนักงานเหนื่อยมาก
5. งานคั่งค้างสะสม ณ จุดต่างๆเป็นเวลานาน
6. เมื่อพนักงานไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามเวลาที่กำหนด

ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมแก่พนักงาน หากละเลยหรือไม่สนใจแล้ว ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นต่อองค์การอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะคอยสังเกตติดตาม เพื่อที่จะได้รู้ถึงปัญหาเหล่านี้ได้ทันการณ์
ทรัพยากรด้านมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าขององค์การ การให้การศึกษาแก่ผู้ร่วมงาน จะให้ประโยชน์แก่ผู้บริหารและหน่วยงานเป็นอย่างมาก เพราะประสิทธิภาพขององค์การขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของสมาชิกในองค์การ ถ้าสมาชิกในองค์การมีประสิทธิภาพสูง องค์การก็เข้มแข็งก้าวหน้า กองทัพที่รบชนะทุกครั้งได้นั้น ทหารทุกคนจะต้องชำนาญการรบฉันใด องค์การจะเข้มแข็งก้าวหน้าก็เพราะสมาชิกในองค์การมีความสามารถฉันนั้น



ดังนั้น การศึกษาอบรมจึงเป็นหัวใจในการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ เพราะการศึกษาและการฝึกอบรมจะช่วยขยายขีดความสามารถของมนุษย์ ทำให้มีโอกาสมากขึ้น นอกจากนี้การฝึกอบรมจะช่วยปรับทัศนคติให้ถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากทุกคนที่เข้ามาทำงานนั้นมีบุคลิก กิริยาท่าทางและการแสดงออกที่แตกต่างกัน มีปมเด่น – ปมด้อย หลายคนเก็บตัว หลายคนแสดงออก สิ่งเหล่านี้ยากที่จะรวมเป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้น การฝึกอบรมจึงไม่เพียงแต่จะหวังให้พนักงานมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเท่านั้น แต่สอนให้สามารถที่จะทำงานได้อย่างตรงเป้าหมายในอนาคตด้วย

2. ผู้บริหาร บริหารงานถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด


ไม่ถูกต้อง เพราะใช้การบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ การสั่งการไว้ที่ กก.ผจก. เพียงคนเดียวทำภาระหน้าที่ตั้งแต่การเริ่มดำเนินงานติดขัด เมื่อประสบปัญหาการรับออเดอร์จากลูกค้าไม่ทัน เพราะลูกค้าที่สั่งออเดอร์นั้นมีมาเยอะ เมื่อรับสารไม่ทันการกระจายงานก็ล่าช้าและผู้ที่จะมารับผิดชอบงาน ในส่วนของการรับออเดอร์จากลูกค้า ไม่มีประสิทธิภาพในการรับออเดอร์ที่เป็นภาอังกฤษได้ และทางฝ่ายขาย ฝ่ายบีบห่อและฝ่ายบริหารจักการทั่วไป ยังไม่มีหัวหน้าฝ่าย จึงไม่มีการกระจายงานที่รวดเร็วมาก เพราะ กก.ผจก. เป็นผู้กระจายงานเพียงคนเดียวในบริษัท ซึ่งหมายถึง การมีสภาวะการเป็นผู้นำของ กก.ผจก.ต่ำ จนไม่สามารถแบ่งงานไปได้ทันท่วงที ดังนั้น กก.ผจก. ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
การวางแผนกำลังคน เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการบริหารบุคคลที่จะมุ่ง ทำให้เกิดความสมดุลกันขึ้นระหว่างงานกับคน เพราะถ้าการวางแผนกำลังคนไม่ถูกต้องแล้ว ก็จะเกิดภาวะคนล้นงาน การทำงานซ้ำซ้อน ดังนั้น ในการวางแผนกำลังคน จึงมุ่งที่จะขจัดปัญหาดังกล่าว และสรรหาคนดีมีฝีมือมาทำงาน
การวางแผน คือ การตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร และใครเป็นผู้กระทำ การวางแผนจึงเป็นวิธีการเชื่อมโยง ระหว่างปัจจุบันกับอนาคตที่ต้องการ การวางแผนกำลังคน ประกอบด้วย กระบวนการต่างๆ คือ

1. การคาดการความต้องการกำลังคนในอนาคต
2. การวิเคราะห์งาน
3. การจัดทำคำอธิบายลักษณะงาน
4. การสรรหา
5. การคัดเลือก
6. การปฐมนิเทศ


การคาดการความต้องการกำลังคนในอนาคต หมายถึง การคาดว่าในอนาคตหน่วยงานต้องการบุคคลประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใด และต้องการเท่าใด การวางแผนว่า คือ ข้อสมมติฐาน หรือการประมาณเหตุการณ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร เช่น ก่อนที่จะวางแผนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตใหม่ จำเป็นต้องกำหนดอนาคตเกี่ยวกับตลาด เกี่ยวกับราคา อัตราภาษี และอัตราการเพิ่มจำนวนของประชากร ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจอย่างมั่นใจ ดังนั้น การวางแผนเกี่ยวกับการตลาด จะต้องพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1. การพยากรณ์ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. ระบบการเงิน
3. ความต้องการของตลาด
4. ทัศนคติของประชาชน
5. นโยบายของรัฐบาล

อนึ่ง ในกระบวนการวางแผนกำลังคน ก็ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ คล้ายๆ กัน ซึ่งได้แก่
1. ประเมินกำลังคนในปัจจุบันว่า สมดุลกับงานที่ปฏิบัติอยู่หรือไม่
2. พิจารณาว่าจะมีการขยายหน่วยงานใหม่หรือไม่
3. ในหน่วยงานปัจจุบัน มีบุคคลที่โยกย้ายและเลื่อนตำแหน่งเท่าใด
4. มีแหล่งกำลังคนที่จะมาทดแทนหรือไม่
5. ธุรกิจในอนาคต จะขยายไปมากน้อยเท่าใด
6. งานที่ต้องทำในอนาคต มีสภาพอย่างไร

การวิเคราะห์งาน เป็นการศึกษารายละเอียดของงาน แต่ละประเภท แต่ละตำแหน่ง ว่ามีสาระสำคัญอะไรบ้าง เช่น ศึกษาว่างานนั้นมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการปฏิบัติอย่างไร ต้องใช้เวลามากน้อยแค่ไหน มีความเสี่ยงภัยอย่างไรเหล่านี้ เป็นต้น นักวิเคราะห์จะต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจในงานนั้นๆ อย่างถ่องแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของงาน และสาระสำคัญของงาน องค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในบรรดาองค์ประกอบทั้งหลาย คือ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของงานหรือตำแหน่งที่ได้กำหนดหรือได้รับมอบหมาย
คุณสมบัติของผู้นำ มีดังนี้

1. มีความมั่นใจในตัวเอง หมายถึง ผู้ที่มีความเข้าใจตนเอง ภูมิใจในตนเอง และเป็นตัวของตัวเอง แต่ไม่หยิ่งจองหอง กล้าตัดสินใจกระทำมนบางสิ่งบางอย่าง โดยไม่ลังเลใจ ขณะเดียวกันก็สามารถปรับตัวปรับใจ เมื่อได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดพลาดลงไป
2. รู้จักควบคุมอารมณ์ หมายถึง ผู้ที่มีใจสงบเสงี่ยมและหนักแน่น ไม่ปล่อยตัวให้ตกเป็นทาสของอารมณ์
3. มีความยุติธรรม หมายถึง ผู้ที่มีความตรงไปตรงมา ไม่มีเลศนัยในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นพิจารณาให้คุณหรือให้โทษแก่ลูกน้องและบุคคลทั่วไปงการบุคคลประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใด และต่องการเท่าใด การ
4. มีความเฉียบขาด หมายถึง ผู้ที่มีความกล้าและมีความสามารถในการตัดสินใจในยามเผชิญกับเหตุการณ์ที่วิกฤต ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลอันเกิดจากการตัดสินใจนั้น และสามารถกระจายงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ครบถ้วน และรวดเร็ว
5. มีความพร้อมอยู่เสมอ หมายถึง ผู้ที่มีความเข้าใจและมีความรอบรู้ในงานที่ตนรับผิดชอบอยู่เป็นอย่างดี รู้จักว่างานใดสำคัญที่สุด งานใดควรทำก่อน และงานใดควรทำทีหลัง
6. รู้จักทำงานเป็นทีม หมายถึง ผู้ที่รู้จักสร้างทีมทำงาน รู้จักพูดเมื่อถึงคราวต้องพูด และรู้จักฟังเมื่อถึงคราวต้องฟัง เคารพมติของกลุ่ม รู้จักสอนงาน ไม่ดุลูกน้องเมื่อเขาทำผิด แต่ให้คำแนะนำ
7. มีความซื่อสัตย์ หมายถึง ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและต่อผู้อื่น
8. มีความเสียสละ หมายถึง ผู้ที่มีพลังใจและมีความใฝ่ฝันทะเยอะทะยานที่จะทำงานให้สำเร็จตามอุดมการณ์ ไม่ใช่สักแต่จะทำ
9. มีความกล้า หมายถึง ผู้ที่มีความกล้าได้กล้าเสียและกล้าเสี่ยง กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่กลัวความล้มเหลว กล้าเผชิญกับความคิดเห็นหรือบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับตน
10. มีมนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง ผู้ที่ความเด็ดขาด แต่มีความเป็นสุภาพบุรุษ มีความเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความโอภาปราศรัย ยิ้มแย้มแจ่มใส


ภาวะผู้นำ เป็นคุณสมบัติพิเศษที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นติดตาม และทำในสิ่งที่ผู้นำต้องการ บุคคลอาจจะเป็นนักบริหารที่ดี แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำที่ดี สิ่งหนึ่งที่จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำกับผู้บริหารที่ขาดภาวะผู้นำ คือ ผู้บริหารที่ขาดภาวะผู้นำจะบริหารงาน โดยอาศัยอำนาจตามขอบเขต หน้าที่ที่ระบุตามกฎหมายหรือข้อกำหนดเท่านั้น ส่วนผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำนั้น จะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจที่มีอยู่โดยตำแหน่ง หรือตามตัวบทกฎหมาย แต่จะสร้างศรัทธาบารมีโน้มน้าวใจให้ลูกน้องปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยความเต็มใจ และสุดความสามารถ
อนึ่ง พึงตระหนักด้วยว่า ภาวะผู้นำนั้นมิใช่สิ่งที่ติดตัวมาโดยกำเนิดสถานเดียว หากแต่เป็นสิ่งที่สามารถศึกษาและฝึกฝนในภายหลังได้ และก็ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าผู้นำแบบใดจะดีที่สุดในทุกสถานการณ์ ผู้นำที่ดีที่สุดในสถานการณ์หนึ่ง อาจจะเป็นผู้นำที่ดีที่สุดในอีกสถานการณ์หนึ่ง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่นๆมากมาย เช่น ตัวผู้นำ สถานการณ์ และผู้ร่วมทำงานด้วย เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
ณัฐยา สินตระการผล. คัมภีร์ผู้จัดการ มีนาคม2549 บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด
ดร.เด่น ชะเนติยัง. การบริหารงานบุคคล กรุงเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น